การใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม ทำความเข้าใจ 'เทคโนโลยีหุ่นยนต์'

ไม่ใช่แค่โลกออนไลน์ที่ก้าวไปไกล แต่โลกอุตสาหกรรมก็หมุนไวจนวงการอื่นตามแทบไม่ทันเช่นกัน ล่าสุดได้มีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้งานภายในอุตสาหกรรม แต่สงสัยกันไหมว่า เทคโนโลยีหุ่นยนต์คืออะไร และหุ่นยนต์ทํางานอย่างไร บทความนี้จะขออาสาพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกับหุ่นยนต์ ในงานอุตสาหกรรมเหล่านี้กัน

ทำความเข้าใจ 'เทคโนโลยีหุ่นยนต์' คืออะไร

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ หรือ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ ระบบหุ่นยนต์ที่มีความสำคัญกับกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรม ซึ่งแน่นอนว่า การใช้งานหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีช่วงเวลาพักยาวนานและลดความผิดพลาดไปได้ไม่น้อย เพราะเป็นระบบอัตโนมัติที่เพียงแค่ตั้งโปรแกรมและใช้งานตามความเหมาะสมตามที่ถูกออกแบบมา เช่น การประกอบและถอดชิ้นส่วน ทาสี บรรจุและติดฉลาก เป็นต้น เหนือกว่าแรงงานคน ทั้งความรวดเร็ว แม่นยำ และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมทำงานอะไรและทำงานที่ไหน

ปกติแล้วการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นการหยิบมาใช้ประโยชน์ ทุกรูปแบบตามที่หุ่นยนต์เหล่านั้นรองรับภายในโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เพราะงั้นถึงจะเรียกว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเหมือนกัน แต่หลักการทำงานหรือหยิบไปใช้งานอาจต่างกัน แต่โดยหลักแล้วจะสามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่มนุษย์ได้มากกว่าแรงงานคน เช่น
  • มีความแม่นยำสูง เพราะทำตามที่ได้รับคำสั่งในระบบ
  • มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยให้ในการทำงานบางอย่างที่เสี่ยงต่อสุขภาพหรือชีวิต
  • รวดเร็ว เสร็จงานตรงตามเวลา เพราะสามารถคำนวณเรื่องระยะเวลาการทำงานได้เป๊ะ

4 ตัวอย่างประเภทหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots)

ตัวอย่างประเภทหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots)
หลังจากทำความรู้จักกันแล้วว่า ความหมายของหุ่นยนต์ อุตสาหกรรม คืออะไร มาดู ตัวอย่าง 4 ประเภทของหุ่นยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันกัน
  • หุ่นยนต์อเนกประสงค์ (Materials Handling)

    หุ่นยนต์อุตสาหกรรมประเภทนี้จะมีลักษณะคล้ายหุ่นยนต์แขนกลหลากหลายรูปแบบ เช่น เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เคลื่อนที่ในแนวรัศมี เป็นต้น หรืออาจมีลักษณะการหมุนแบบข้อมือ เน้นใช้งานจับวางหรือเคลื่อนย้ายวัสดุ ชิ้นงาน หรืออื่นๆ เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยกับคนงานมากที่สุด เพราะในบางครั้งก็มีการหยิบเอาไปใช้ในงานอุตสาหกรรมประเภทสารเคมี เชื้อเพลิง หรือวัตถุอันตรายเหมือนกัน
  • หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้า (Picking, Packing and Palletizing)

    อีกหนึ่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยอดฮิตคือ หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้า อาจพบว่า มีหน้าตาภายนอกแตกต่างกันไป เช่น ลักษณะคล้ายแขนหุ่นยนต์ขยับได้อิสระหรือชิ้นส่วนติดตั้งด้านบนอยู่กับที่แล้วให้สินค้าเลื่อนผ่านสายพาน เป็นต้น แต่โดยหลักของการทำงานหรือวัตถุประสงค์ในการใช้งานยังคงใกล้เคียงกันอยู่ ทั้งหยิบ บรรจุ หรือจัดเรียงพาเลทได้เป็นอย่างดี ทั้งแม่นยำและรวดเร็วกว่าใช้แรงงานคนปกติ ไม่ว่าจะบรรจุสินค้าลงกล่อง, วางซ้อนและกระจายอย่างเหมาะสม, ห่อสิ่งของอย่างปลอดภัย หรือจัดเรียงสิ่งของที่คล้ายกันและสิ่งของที่มีรูปร่างและขนาดต่างๆ เป็นต้น
  • หุ่นยนต์ตรวจสอบ (Inspection & Quality Control)

    ไม่ว่าจะชิ้นงานจากคนหรือหุ่นยนต์ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบก่อนส่งออกจากโรงงานอุตสาหกรรมไปถึงมือลูกค้า เลยมีหุ่นยนต์ตรวจสอบขึ้นมา โดยออกแบบให้ภายในมีการใช้กล้องวิดีโอในการจับภาพสินค้าใน Bandwidth และส่งภาพไปยังระบบ Server แล้วระบบที่ติดตั้งไว้ในหุ่นยนต์เหล่านั้นจะมีการประเมินว่า คุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่นการใช้หุ่นยนต์ทำการวัดพื้นผิวด้วยความแม่นยำระดับไมครอน, แขนหุ่นยนต์ที่ช่วยทำการทดสอบสเปกโทรสโกปีอิมพีแดนซ์ (EIS) ไฟฟ้าเคมี กับแบตเตอรี่ที่เลิกใช้แล้วจากรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น
  • หุ่นยนต์ประกอบ (Assembly)

    หุ่นยนต์ประกอบ หรือที่หลายคนเรียกกันว่า แขนกลหุ่นยนต์ประกอบชิ้นส่วน ปกติแล้วจะเห็นหุ่นยนต์ประเภทนี้มาในรูปแบบของแขนที่มีข้อต่อประมาณ 2-3 จุด เน้นประกอบชิ้นส่วน เพื่อผลิตประกอบชิ้นงาน รวมถึงติดตั้งส่วนประกอบและชิ้นส่วนที่จำเป็น เพื่อให้ทำงานได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย ควบคู่กับการผลิตร่วมกับแรงงานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากส่วนแขนหรือตัวประกอบแล้วบางครั้งยังอาจมีการติดตั้งกล้องหรืออุปกรณ์เซนเซอร์พิเศษ เพื่อระบุตำแหน่งในการประกอบได้อย่างชัดเจน



อนาคตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทย

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ส่วนของงานอุตสาหกรรมการผลิตมักพบปัญหาขาดแคลนแรงงานทั่วไปทำให้โรงงานอุตสาหกรรมมีบุคลากรไม่เพียงพอและต้องมองหาแรงงานคนอยู่บ่อยครั้ง แนวโน้มของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์จึงเป็นไปได้ว่า จะมีการนำเอาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และทำงานได้เหนือกว่าในบางตำแหน่งมาใช้เพิ่มขึ้น เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องขาดแคลนแรงงาน ยกเว้นแรงงานบางส่วน เช่น แรงงานฝีมือที่จำเป็นต้องใช้ความละเอียดหรือฝีมือที่เครื่องจักรไม่สามารถทำงานแทนได้ เป็นต้น ที่ยังคงเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมและองค์กรทุกแห่งอยู่ แต่ก็เป็นที่น่าจับตามองกันต่อไปว่า อนาคตของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทยจะมีการพัฒนา ต่อจนสามารถทดแทนแรงงานคนได้ทุกตำแหน่งหรือไม่ เพราะหากถึงตอนนั้นเกิดขึ้นก็อาจเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สร้างกำไรต่อเนื่องได้อย่างมหาศาล จนโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีงบมากพอกล้าจะลงทุนมากขึ้นแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุน ผู้ประกอบการ หรือบุคลากรในแวดวงโรงงานอุตสาหกรรม หากคิดจะก้าวทันโลกอุตสาหกรรมต้องไม่ลืมก้าวให้ทันเทคโนโลยีอย่าง ‘การใช้หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม’ เพราะอาจตอบโจทย์การยกระดับคุณภาพการทำงานและชิ้นงานในอุตสาหกรรมให้แก่คุณได้ไม่น้อย

สำหรับผู้ที่สนใจด้านระบบอัตโนมัติ (Factory Automation) การควบคุมและโปรแกรมหุ่นยนต์ Robotec เป็นผู้นำการบูรณาการโซลูชันหุ่นยนต์ (Robotic Integration & Automation Solutions) เข้ากับกระบวนการผลิตได้กลายเป็นบรรทัดฐานมาเป็นเวลานานในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก ติดต่อทีมงาน Robotec เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่

Related articles

Robotic Palletizer คืออะไร?

Robotic Palletizer ถือเป็นกลไกที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Autonomous Robot สำหรับการทำงานเพื่อจัดเรียงสินค้าโดยเฉพาะนั่นเอง

หุ่นยนต์โรบอทพ่นสีคืออะไร

หุ่นยนต์โรบอทพ่นสี หรือ Paint Robot คือหุ่นยนต์ชนิดหนึ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการพ่นสีโดยเฉพาะ

ขอใบเสนอราคา

ติดต่อเรา

ติดต่อเรา

+66 211-804-51

35th floor, 33/4, Tower A Rama 9 Road, Huaykwang Sub-district, Huaykwang district, Bangkok, 10310

Mon – Fri:
9 AM–8 PM