Cobots หรือ Collaborative Robot คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร

ในยุคสมัยที่หมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วเคียงข้างกับเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ภาคอุตสาหกรรมจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า Cobot หรือหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานเพื่อควบคู่ไปกับการทำงานของมนุษย์ Cobot ที่ว่านี้คืออะไร และต่างจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยุคเก่าอย่างไร ไม่ควรพลาดบทความนี้

Cobots หรือ Collaborative Robot คืออะไร

หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือ Cobots มาจาก Collaborative Robots คือ หุ่นยนต์สำหรับทำหน้าที่ร่วมกับมนุษย์ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงใช้ในงานที่อาจมีความเสี่ยงกับมนุษย์แต่เสริมการทำงานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO และมาตรฐานความปลอดภัยอื่น

ลักษณะของ Cobot

ส่วนใหญ่แล้วหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานหรือโคบอท มักจะมีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา ทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างสะดวกสบายและปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากงานอันตรายได้ รวมถึงเสริมความแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับระบบเซ็นเซอร์ล้ำสมัย เช่น ลดความเร็ว หยุดทำงาน หรือหลบหลีกได้เองเมื่อมีมนุษย์หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใกล้ หรือเกิดการชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้งาน

4 ความแตกต่างระหว่าง หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม กับ Cobots

แม้หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานจะมีจุดประสงค์ที่คล้ายกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม แต่ความจริงแล้วยังมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร เพื่อให้ทุกท่านสามารถแยกออกว่า ทั้งสองแบบต่างกันยังไง เลยขอชวนมาดู 4 ความแตกต่างระหว่าง หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม กับ Cobots กัน

1. การทำงานร่วมกับพนักงาน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม จะเน้นทำงานอัตโนมัติแบบ Full option เต็มรูปแบบไม่ใช่แค่เฉพาะช่วยเติมเต็ม แต่สามารถทำแทนมนุษย์ได้ มักมีขนาดใหญ่ ลดโอกาสเกิดความบาดเจ็บและอันตรายแก่มนุษย์ระหว่างทำงานได้ รวมทั้งสามารถทำงานในระยะเวลายาวนานและตลอดเวลาสำหรับโคบอท หุ่นยนต์ประเภทนี้ โดยหลักการทำงานจะเป็นหุ่นยนต์เฉพาะส่วน น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย เน้นตอบโจทย์การช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานที่เป็นมนุษย์ (ง่ายๆ ว่า ใช้งานร่วมกับการทำงานของแรงงานคน) ในบางส่วนที่เกินกว่าพนักงานจะทำคนเดียวให้สำเร็จ เสี่ยงอันตราย หรือต้องการเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

2. ความสามารถในการเคลื่อนย้ายและยืดหยุ่นการทำงาน

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมักมีขนาดใหญ่และน้ำหนักเยอะทำให้เคลื่อนย้ายตัวเครื่องหุ่นยนต์ได้ยาก ความยืดหยุ่นในการทำงานต่ำ โอกาสประยุกต์ใช้การทำงานให้หลากหลายค่อนข้างยาก ในส่วนของโคบอทถูกออกแบบมาให้มีขนาดย่อม น้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยจะติดตั้งบนผนัง เพดาน หรืออื่นๆ ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์เสริม ในส่วนของการทำงานสามารถเลือกได้หลายแบบ เช่น ใช้ดอกสว่าน กริปเปอร์ ฯลฯ ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องการเคลื่อนย้าย สามารถทำได้อย่างรวดเร็วทันใจ ตอบโจทย์การใช้งานและการทำงาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย

3. โปรแกรมการทำงาน

การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมจะค่อนข้างจำกัดแบบเป็นระบบเลยไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมการทำงานที่ซับซ้อนมาก เพราะถูกวางกลไกไว้เป็นขั้นตอนเรียบร้อย แต่มักถูกเขียนจากโปรแกรมของตัวเอง ทำให้พบปัญหาเรื่องสร้างภาระให้ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านโปรแกรมของหุ่นยนต์นั้นๆ เพื่อจะใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่หุ่นยนต์อุตสาหกรรมชิ้นนั้นจะสามารถใช้ได้สำหรับโคบอทนั้น ส่วนใหญ่จะถูกเขียนโปรแกรมมาไว้ให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดได้เต็มที่ เช่น การการออกแบบให้เคลื่อนที่ตามเส้นทางได้ ฯลฯ โดยไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความยุ่งยากด้านการเขียนโปรแกรม

4. รูปแบบการใช้งาน

ด้านรูปแบบการใช้งาน ต้องยอมรับว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมักตอบโจทย์การใช้งานกับงานที่มีปริมาณมากในระยะเวลาที่จำกัด เพราะมีความรวดเร็วและแม่นยำ จัดทำแบบอัตโนมัติสมบูรณ์ครบถ้วน ตามโรงงานขนาดใหญ่จึงนิยมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรูปแบบนี้ รวมถึงงานที่ต้องใช้ความเสี่ยงอันตรายสูงด้วย ส่วนโคบอทนั้น ด้วยความที่เป็นหุ่นยนต์ปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์เลยยังไม่สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบจากตัวมันเอง ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับแรงงานคนอยู่ จึงค่อนข้างเหมาะกับการใช้งานขนาด SME ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง และเสริมในบางส่วนแก่งานขนาดใหญ่ ใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดหรือมีความซับซ้อนมากขึ้นได้ สุดท้ายก็ต้องดูเนื้องานว่า หุ่นยนต์ไหนเหมาะกับงานประเภทไหน ไม่ใช่แค่เรื่องของขนาดอุตสาหกรรม

4 ประเภทของหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน COBOTS

เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพมากขึ้นว่า หุ่นยนต์โคบอท (Cobots) คืออะไร หน้าตาประมาณไหน เลยขอหยิบ 4 ประเภทของหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน Cobots มาอธิบายเพิ่มเติม ดังนี้
  • 1. Power and Force Limiting cobots

    หนึ่งในโคบอทยอดนิยมที่ถูกดีไซน์มาให้เน้นทำงานร่วมกับแรงงานคนโดยเฉพาะ สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องของความปลอดภัยหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริม สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายประเภทตามเซนเซอร์ตรวจจับความปลอดภัย เช่น Joint Sensing ตรวจจับการเคลื่อนไหว, Skin Sensing ตรวจจับแรงที่เข้ามากระทบ, Force sensor base ตรวจจับแรงบิด, Inherently safe มีความปลอดภัยขั้นสุด ฯลฯ
  • 2. Hand guiding

    โคบอทแบบ Hand guiding ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถใช้มือในการบังคับหุ่นยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อสอนการทำงานรูปแบบใหม่ ๆ ได้ เพื่อช่วยให้การโปรแกรมโคบอทมีความรวดเร็ว และลดดาวน์ไทม์ให้เหลือน้อยที่สุด ไปจนถึงลดความต้องการทักษะด้านการเขียนโปรแกรมของผู้ใช้ให้น้อยลงอีกด้วย
  • 3. Safety monitored stop

    หุ่นยนต์ประเภทนี้จะเน้นเรื่องความปลอดภัยสมชื่อ เพราะมีระบบเซนเซอร์ที่หากมีคน หรือ สิ่งมีชีวิตใดๆ เข้าไปในบริเวณนั้นขณะทำงานก็จะหยุดการทำงานทันที แต่หากออกนอกพื้นที่แล้วจึงจะสามารถทำงานต่อได้
  • 4. Speed and separation

    โคบอทประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับประเภท Safety monitored stop ถูกพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน แต่มีการเพิ่มการใช้งานระบบการมองเห็น(Vision System) ที่ก้าวหน้ากว่า เพื่อปรับการทำงาน เช่นลดความเร็วของหุ่นยนต์เมื่อพนักงานเข้าใกล้ และหยุดเคลื่อนที่เมื่อเข้าใกล้มากเกินไป


เชื่อว่า หลังจากทุกคนที่กำลังสนใจลงทุน Cobots ได้อ่านบทความนี้จะต้องทำความเข้าใจและแยกประเภทของ หุ่นยนต์ออกได้อย่างแน่นอนว่า หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมกับหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานแบบโคบอทต่างกันอย่างไร เพราะงั้นหากพิจารณาแล้วว่า ตอบโจทย์กับการใช้งานในอุตสาหกรรมของคุณ เช่น ความปลอดภัย ความแม่นยำ เสริมประสิทธิภาพ ฯลฯ และมีแนวโน้มคุ้มค่าก็อาจจะตัดสินใจลงทุนหยิบมาใช้งานจริงกันต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจด้านระบบอัตโนมัติ (Factory Automation) การควบคุมและโปรแกรมหุ่นยนต์ เรา Robotec เป็นผู้นำการบูรณาการโซลูชั่นหุ่นยนต์ (Robotic Integration & Automation Solutions) ให้เข้ากับกระบวนการผลิต ซึ่ง Robotic & Automation ได้กลายเป็นบรรทัดฐานในปัจจุบัน สำหรับหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก สนใจ ติดต่อทีมงาน Robotec เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่
ขอใบเสนอราคา

ติดต่อเรา

ติดต่อเรา

+66 211-804-51

35th floor, 33/4, Tower A Rama 9 Road, Huaykwang Sub-district, Huaykwang district, Bangkok, 10310

Mon – Fri:
9 AM–8 PM