ระบบ Factory Automation คืออะไร เพิ่มประสิทธิภาพของโรงงานอย่างไร

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ไม่ว่าจะทำอะไรต่างก็รายล้อมด้วยเทคโนโลยี ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ซอฟต์แวร์ เครื่องจักรกล ระบบอัตโนมัติ ต่างๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่เรียกได้ว่าส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันไม่น้อย เพื่อเข้ามาช่วยแบ่งเบาการทำงาน ในส่วนของแรงงานหรือการใช้งานจากคนได้ มาทำความรู้จักกับ Factory Automation ที่จะเข้ามามีส่วนในการผลิตสมัยใหม่ยุค 4.0 กันเถอะ

Factory Automation คืออะไร

ระบบ Factory Automation หรือระบบ Automation คือ ระบบ ในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ที่เน้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องจักร และซอฟต์แวร์ต่างๆ โดยการนำเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนา มาช่วยเพิ่มคุณภาพในการผลิตสินค้า และช่วยเพิ่มกำลังการผลิตสินค้า เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าระบบเดิมๆ ขณะเดียวกันก็ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในระยะยาวได้ แทนการจ้างพนักงานเข้ามาทำงาน


ระบบ Automation กับการผลิตสมัยใหม่ยุค 4.0

ระบบ Factory Automation เป็นระบบที่สามารถนำมาใช้งานในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ในยุค 4.0 การมีระบบ Factory Automation จะช่วยให้การผลิตสมัยใหม่ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น และ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมการผลิตให้ก้าวไปข้างหน้า โดยการช่วยเพิ่มประสิทธิผลด้วยการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ผลิตงานได้เร็วขึ้น ยืดหยุ่นได้ และยังสามารถทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ แต่ก็ต้องมีการเตรียมพร้อมโดยการเพิ่มทักษะการทำงานร่วมกับเครื่องจักร เพื่อให้มนุษย์ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทของ Automation ในโรงงาน

  • 1. ระบบอัตโนมัติคงที่ (Fixed Automation)

    Fixed Automation หรือระบบอัตโนมัติแบบคงที่ เป็นระบบที่เหมาะสำหรับการทำงานซ้ำๆ และยังมีจุดแข็งในการผลิตสินค้าในปริมาณมาก การทำงานของระบบ Automation ประเภทนี้สามารถกำหนดความเร็ว และลำดับของกระบวนการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตที่จะเหมาะกับ Fixed Automation หรือระบบอัตโนมัติคงที่ จะเน้นไปที่การผลิตแบบการอัด การปั๊ม หรือการหล่อ เพื่อขึ้นรูปที่สามารถทำงานซ้ำๆ เดิมๆ เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิคซึ่งถ้าหากเป็นการผลิตที่ซับซ้อนหรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ก็อาจยุ่งยากเพราะต้องให้ช่างเทคนิคเป็นคนสลับเครื่องมือด้วยตัวเอง และต้องหยุดสายการผลิตขณะเปลี่ยนอีกด้วย ซึ่งทำให้เสียเวลาการผลิตได้

  • 2. ระบบอัตโนมัติที่ตั้งโปรแกรมได้ (Programmable Automation)

    Programmable Automation เป็นระบบ Factory Automation ที่สามารถตั้งโปรแกรมการผลิตได้ มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง รองรับการกำหนดค่าผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันได้ และยังรองรับการเปลี่ยนแปลงของขั้นตอนการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นระบบเหมาะกับการผลิตสินค้าแบบกลุ่ม โดยมีโปรแกรมทำหน้าที่เป็นคำสั่งให้แก่ระบบ ถึงแม้จะผลิตสินค้าออกมาในขั้นตอนที่ไม่เหมือนกัน แต่ก็ยังคงมาตรฐานการผลิตแบบเดียวกันทั้งหมดไว้ได้

  • 3. ระบบอัตโนมัติที่ยืดหยุ่น (Flexible Automation)

    ระบบอัตโนมัติประเภทนี้เป็นระบบที่ช่วยให้คุณสามารถกำหนดค่าเครื่องให้ ผลิตสินค้าใหม่ได้ในเวลาอันสั้น ไม่ทำให้คุณเสียเวลาในการเปลี่ยนไลน์การผลิตหรือตั้งค่ารายการใหม่ ด้วยการใช้เครื่องมือที่คล้ายคลึงกัน หรือติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม อีกทั้งโปรแกรมของระบบ Flexible Automation ยังทำงานแบบ Offline บนคอมพิวเตอร์ได้ ระบบ Factory Automation ประเภทนี้จะเหมาะกับอุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลาง

  • 4. ระบบอัตโนมัติแบบบูรณาการ (Integrated Automation)

    ระบบอัตโนมัติแบบบูรณาการเป็นระบบ Factory Automation ที่จะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับการผลิต ด้วยการใช้โปรแกรมประยุกต์ ฐานข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงงานบริหารบุคคล และระบบการขาย ซึ่งระบบอัตโนมัติแบบบูรณาการจะเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงการออกแบบ การผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบ Automation

  • 1. จุดประสงค์และขอบเขต

    การออกแบบระบบ Factory Automation อันดับแรกเลยคือคุณจะต้องเลือกระบบให้เหมาะกับสายการผลิตของคุณ และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่คุณจะต้องดูตามความเหมาะสมก่อนการเลือกวาง หรือติดตั้งระบบ Factory Automation เช่น ขนาดของโรงงาน ทางเข้า-ทางออกของโรงงาน ระบบขนส่งของโรงงาน สินค้าและวัตถุดิบในการผลิต ต้นทุนในการทำงานทั้งหมด เป็นต้น

  • 2. อายุการใช้งานของเทคโนโลยีนั้นๆ

    การเลือกเทคโนโลยีเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมการผลิต จะต้องคำนึงถึงการใช้งานระยะยาว เนื่องจากมีราคาต้นทุนที่ต้องจ่าย การออกแบบ Factory Automation ที่ดี จะต้องมองเผื่ออนาคตข้างหน้า หากเกิดการขยายอุตสาหกรรมการผลิต เพิ่มสินค้า หรืออื่นๆ คุณจะต้องมองการณ์ไกล คาดการณ์เผื่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในข้างหน้า จะช่วยให้การออกแบบ Factory Automation ให้มีความยืดหยุ่นเข้ากับโรงงานของคุณได้ดี

  • 3. ต้นทุนที่จะเกิดขึ้น

    การออกแบบวางระบบ Factory Automation จะต้องคำนึงถึงต้นทุนที่ต้องจ่าย เลือกออกแบบระบบ Automation ให้อยู่ในงบต้นทุน มิเช่นนั้นอาจบานปลายได้ แต่บางครั้งการเลือกที่จะตัดระบบบางอย่างออกไป เพื่อเป็นการเซฟต้นทุน คุณอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ เพราะหากคุณเลือกที่จะตัดออกเอง เพราะคิดว่าไม่จำเป็น แต่ดันไปกระทบกับคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้

  • 4. ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน

    แน่นอนว่าการใช้หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม อาจเกิดผลกระทบต่อลูกจ้างได้ ทั้งเรื่องการทำงานร่วมกับระหว่างคนและหุ่นยนต์ หรืออาจขาดความรู้เรื่องการใช้งานเครื่องจักร ทั้งนี้เมื่อมีการวางระบบ Factory Automation อาจต้องมีการอบรมพนักงานให้ใช้งานเครื่องจักรเป็น เพื่อที่จะได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันระหว่างคนและเครื่องจักร

  • 5. อนาคตของระบบอัตโนมัติ

    ในอนาคตแนวโน้มของการใช้ระบบอัตโนมัติในภาคอุตสาหกรรมการผลิต จะมีเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน อันเนื่องมาจากการใช้ระบบ Factory Automation จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้มากถึง 60% และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น



อนาคตของระบบอัตโนมัติ

ก็จะเป็นการเข้าสู่การผลิตสมัยใหม่ยุค 4.0 ที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมามีประสิทธิภาพดี อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้ดีเยี่ยมอีกด้วย ลองประเมินโรงงานของคุณว่าพร้อมแล้วหรือยังที่จะเข้าสู่การผลิตสมัยใหม่ยุค 4.0 สำหรับผู้ที่สนใจด้านระบบอัตโนมัติ (Factory Automation) การควบคุมและโปรแกรมหุ่นยนต์ Robotec เป็นผู้นำการบูรณาการโซลูชันหุ่นยนต์ (Robotic Integration & Automation Solutions) เข้ากับกระบวนการผลิตได้กลายเป็นบรรทัดฐานมาเป็นเวลานานในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก ติดต่อทีมงาน Robotec เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการคุณอย่างเต็มที่
ขอใบเสนอราคา

ติดต่อเรา

ติดต่อเรา

+66 211-804-51

35th floor, 33/4, Tower A Rama 9 Road, Huaykwang Sub-district, Huaykwang district, Bangkok, 10310

Mon – Fri:
9 AM–8 PM